วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประเทศอาเซียน

มาเรียนรู้ภาษาอาเซียน  วันนี้แนะนำเรื่องคำทักทายว่า สวัสดี   ในประเทศอาเซียนค่ะ
คำอ่านภาษาไทย       คำอ่านภาษาอังกฤษ                ประเทศ
    ซินจ่าว                  (Xin Chao)                        เวียดนาม
    ซำบายดี                (Som Bay Dee)                 ลาว
    สวัสดี                    (Sa Wed Dee)                  ไทย
    มิงกลาบา               (Ming Ka La Ba)               พม่า
    ซัวซไดย                (So Sa Dai)                      กัมพูชา
    มาบูไฮ                   (Ma Boo Hi)                      ฟิลิปปินน์
    ซาลามัด บากี         (Se La Mat Pagi)               บรูไน
    ซาลามัต ดาตัง       (Sa La Mat Da Tang)        มาเลเซีย
    แฮนโล่                  (Hello)                               สิงค์โปร์
    ซาลามัด เซียง       (Se La Mat Siang)             อินโดนีเซีย
ต่อท้าย #2 19 ต.ค. 2553, 14:34:56
กำเนิดอาเซียน
           อาเซียน  หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ       ซึ่งได้ลงนาม ณ วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
          โดยมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์  
2.เพื่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก

            เมื่อแรกการก่อตั้งในปี 2510  อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ
ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์  ในเวลาต่อมา
บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่   6  ในปี  2527
เวียดนาม             เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่   7  ในปี  2538
ลาวและพม่า         เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน    เมื่อปี  2540
และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุด                  เมื่อปี  2542
ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมาสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

            สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและ            การเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็น  มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ                              ความก้าวหน้าของอาเซียน   มีปัจจัยสำคัญจากความไว้ใจกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่ สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน

            การที่ไทยกำลังจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนตามวาระตั้งแต่เดือนกรกฎาคม  และจะเป็นเจ้าภาพ       การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในช่วงปลายปีนี้ด้วยนั้น เป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้ต้อนรับอาเซียนกลับสู่บ้านเกิด เพราะอาเซียนถือกำเนิดที่กรุงเทพฯ เมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้ว และเป็นช่วงจังหวะดีที่เลขาธิการอาเซียนปัจจุบันี้เป็นคนไทย คือ ท่านดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ     อาเซียนมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2538  และในปลายปี ประเทศไทยก็จะได้แสดงศักยภาพของชาติให้ปรากฎ    อีกครั้งหนึ่งในการรับบทบาทนำการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งหน้านี้ต่อไป
ต่อท้าย #3 19 ต.ค. 2553, 14:36:37
และในอีกไม่นานมานี้อาเซียนกำลังมีพัฒนาการสำคัญ คือการมุ่งสู่การรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกัน ทั้งในแง่การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งประเด็นเหล่านี้รวมทั้งความคืบหน้าในการดำเนินการด้านต่างๆ ก็จะเป็นเรื่องหนึ่งที่มาหารือกันในการประชุมที่ประเทศไทยในเดือนธันวาคมนี้

           ปลายปี 53 ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทยร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วยน้ำใจไมตรีแบบไทยๆ และร่วมกันต้อนรับมิตรประเทศอาเซียนและผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายอื่นๆ จากทั่วโลก ให้สมศักดิ์ศรีที่ไทยเป็นประเทศประธานอาเซียน
ต่อท้าย #4 19 ต.ค. 2553, 14:39:13
การที่จะให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2553 แต่ต่อมาได้ตกลงรุ่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย  3 เสาหลัก  ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
                      1) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง                  
                     
                      2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
                   
                      3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ต่อท้าย #5 19 ต.ค. 2553, 14:42:14
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคาม        ความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการมีความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคม        อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค

            ปัจจุบัน อาเซียนกำลังจัดอยู่ในระหว่างการยกร่างพิมพ์เขียวหรือแผนงานการจัดตั้งประชาคม         การเมืองความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยของประชาชนภายในปี 2558 คาดว่า แผนงานนี้จะเสร็จสิ้นและพร้อมให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันรับรองได้ ในระหว่าง  การประชุม   สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ในเดือนธันวาคม 2551 ที่กรุงเทพมหานคร
ต่อท้าย #6 19 ต.ค. 2553, 14:44:17
กฎบัตรอาเซียน
             
               ตลอดช่วงเวลา 41 ปี อาเซียนได้พัฒนาตนเองจนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จในระดับสำคัญในหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เรื่อยไปจนถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวกันของอาเซียน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายใน      ปี 2558 ได้แก่การที่อาเซียนขาดกลไกที่บังคับในกรณีที่มีประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ    ของอาเซียน  

               เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันลงนามใน ‘กฎบัตรอาเซียน’ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน โดยการมีกฎบัตรอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตาม เป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558  สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และ  ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

               ในปัจจุบัน อาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการที่แต่ละประเทศดำเนินกระบวนการทางกฎหมายภายในเพื่อให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน หรือที่เรียกว่ากระบวนการให้สัตยาบันกฎบัตรฯ โดยในชั้นนี้มีสมาชิกที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไนฯ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า คาดหมายว่าสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะสามารถให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ได้ก่อนการประชุมผู้นำในปลายปีนี้  ทั้งนี้    กฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ 30 วันหลังจากที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันแล้ว
ต่อท้าย #7 19 ต.ค. 2553, 14:45:35
ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของ  อาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก  เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิก     อาเซียน ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากหลักการของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด          การแบ่งงานกันทำ และการพัฒนาความชำนาญในการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน
ต่อท้าย #8 19 ต.ค. 2553, 14:47:19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น