วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่ชีวีสดใส
เลิกบุหรี่วันนี้เพื่อชีวีที่ดีกว่า
 
1.  การดูแลตัวเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง
2.  การให้สุขศึกษา เข้าคลินิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล
3.  การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่นยานอนหลับ
4.  การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่างๆเช่นหมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
5.  การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด
6.  รับคำปรึกษาจากแพทย์
7.  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
8.  การใช้สื่อต่างๆสร้างพลัง-กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับชุมชน

วิธีการเลิกเหล้า

  • *****
  • กระทู้: 125
  • 10 วิธีเลิกเหล้า
    « เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 01:30:03 pm »
    1. ตั้งใจจริง การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

    2. ตั้งเป้าว่าจะเลิกเหล้าเพื่อใคร เพราะเหตุใด เช่น เพื่อพ่อแม่...เพราะการดื่มเหล้าของเราทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจเพื่อตัวเอง... จะได้มีสุขภาพดีแถมมีเงินเก็บมากขึ้น เพื่อลูกและครอบครัว...เพราะเหล้า เข้าปากทีไร เป็นต้องทะเลาะกันทุกที ถ้าเลิกเหล้าก็คงทะเลาะกันน้อยลงครอบครัวจะได้มีความสุข มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น...เป็นต้น

    3. หยุดทันที! คนที่มีแนวคิดว่าเพียงแค่ดื่มเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการเข้าสังคม เมื่อตั้งใจที่จะเลิกเหล้า ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ และหยุดดื่มทันที

    4. ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม สำหรับคนที่เคยดื่มเหล้าเป็นประจำอาจเลิกทันทีได้ยาก ให้ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ดื่มเหล้าน้อยลงได้ เช่น ดื่ม เหล้าพร้อมกับการรับประทานอาหาร หรือ หมั่นดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วยระหว่างการดื่มเหล้า เปลี่ยนขนาดของแก้ว จากแก้วใหญ่เป็นแก้วเล็กดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าทดแทนไปก่อนใน ระยะแรก


    5. ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณการดื่ม เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 8 แก้ว ก็อาจจะลดปริมาณการดื่มลงไปเรื่อยๆ จนเหลือวันละ 1 แก้ว และไม่ดื่มเลยแม้แต่แก้วเดียวในที่สุด

    6.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ความเสี่ยงในที่นี้คือ สถานการณ์หรือสถานที่ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราดื่มเหล้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ช่วงเวลาหลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก วาระหรือโอกาสพิเศษต่างๆ การไปเที่ยวผับหรือร้านอาหาร สถานบันเทิง การชักชวนจากกลุ่มเพื่อนที่ดื่มจัด รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่อาการเหน็ดเหนื่อย ทดท้อ เหงา เศร้า เครียด ฯลฯ

    อาหารบำรุงสมอง

    วันเสาร์ ที่ 4 กันยายน 2553
    Posted by วันพุธ , ผู้อ่าน : 54669 , 14:50:54 น.  
    หมวด : อาหาร

    พิมพ์หน้านี้
    โหวต 1 คน

    ......
    หลายครั้งในชีวิตของเรา การงาน การเงิน สังคม

    และชีวิตครอบครัว ทำให้เราต้องคิดหนัก

    ใช้สมองและความคิดในเรื่องต่างๆมากมายหลายเรื่อง

    บางครั้งก็ทำให้คนเราเครียดหรือเหนื่อยล้าไปได้เหมือนกัน

    .....
    ไม่เป็นไรครับ เหนื่อยนัก เครียดนักก็พักกันเสียก่อน

    มาหาอะไรกิน มาหาอะไรบำรุงร่างกาย บำรุงสมองกันดีกว่าเนอะครับ

    อาหารบำรุงสมองนั้นมีมากมาย บางคนก็ชอบซุปไก่

    รังนก หรือโสม สมุนไพรต่างๆ ก็ว่ากันไปครับ

    อาหารแต่ละอย่างก็มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ

    แตกต่างกันไป การกินอาหารที่หลากหลาย ย่อมได้ประโยชน์

    เพียงแต่ต้องกินให้พอดี ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป

    กินให้ถูกส่วน ก็เท่านั้นเองเนอะครับ….
    .....

    7 อาหารบำรุงสมอง

    ...
    .....
    ปลา เป็นอาหารบำรุงสมองยอดฮิต

    ที่เรานึกถึงเป็นอันดับแรกๆเลยครับ

    เพราะในปลาจะมีกรดไขมัน โอเมก้า 3

    ช่วยสร้างและดูแลผนังเซลส์ประสาทในสมอง

    ให้แข็งแรง ไม่เสื่อมตามวัยเร็วเกินไป นั่นเอง

    (กรดไขมัน DHA ที่อยู่ในกรดไขมันโอเมก้า3

    มีความสำคัญต่อการพัฒนาและบำรุงเซลส์สมองมาก

    เพราะเป็นกรดไขมันโซ่ยาวแบบเดียวกัน

    กับที่พบในเยื่อเซลส์สมองของเรา)

    ปลากระพง ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และปลาทู

    เป็นปลาที่มีโอเมก้า 3 ในปริมาณสูงครับ

    .....
    .....
    สาหร่ายทะเล มีโอเมก้า 3 สูงเช่นกัน

    จัดว่าเป็นอาหารบำรุงสมองอย่างหนึ่งที่สำคัญ

    และยังช่วยให้เส้นผมดกดำได้อีกด้วยครับ
    .....

    .....
    กระเทียม สุดยอดพืชมหัศจรรย์จริงๆครับ

    กระเทียมจะช่วยกระตุ้นให้สมองสร้างเทโรนิน

    มากขึ้น ช่วยทำให้เราอารมณ์ดี ลดความเครียด

    ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลส์ประสาท ช่วยให้ความจำดี
    .....

    ....
    ถั่วเหลือง เป็นอาหารบำรุงร่างกายที่ยอดเยี่ยม

    มีคุณประโยชน์หลากหลายจริงๆครับ

    สำหรับสมองนั้น ถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน

    ที่ช่วยให้เซลส์ประสาทของเราแข็งแรง ช่วยเรื่องความจำ
    .....

    ประเทศสิงคโปร์

    ประเทศสิงคโปร์









    ประเทศสิงคโปร์ เป็นเกาะตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้าช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นช่องทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิค กับมหาสมุทรอินเดีย และอยู่ตรงปลายแหลมมลายู เป็นเกาะที่ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะคือ เกาะสิงคโปร์ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ นอกจากนั้นยังมีเกาะเล็ก เกาะน้อยอยู่ภายในเขตน่านน้ำอีก ๕๔ เกาะ และเกาะปะการังอีกประมาณ ๗ เกาะ ในบรรดาเกาะดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัย และตั้งโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ประมาณ ๓๐ เกาะ
                ตัวเกาะสิงคโปร์ มีรูปร่างคล้ายพัดเพชรร่วง คือ พื้นที่ส่วนเหนือกว้างเป็นรูปหน้าตัดของเพชร และแคบลงทางใต้ ความยาวของเกาะจากตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ ๔๒ กิโลเมตร ความกว้างจากเหนือถึงใต้ ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๖๑๘ ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการขยายพื้นที่ ด้วยการถมทะเลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

    วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

    ประวัติของภูเก็ต


    ประวัติความเป็นมาของภูเก็ต มีหลายกระแส บ้างก็ว่าภูเก็ตเป็นเกาะ ที่ค้นพบโดยชาวประมง แต่เดิมเรียกว่า “บูกิต” ซึ่งเป็นภาษามลายูแปลว่าภูเขา เพราะเมื่อมองจากทะเล จะเห็นเหมือนมีภูเขา โผล่ขึ้นกลางน้ำ แต่บางกระแส ก็ว่าภูเก็ตมาจากคำว่า “ภูเก็จ” แปลว่าภูเขาที่มีค่า ซึ่งคำว่าภูเก็จนี้มีบันทึก ในเอกสารเมืองถลางว่า ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2328 มีฐานะเป็นเมือง ที่ขึ้นตรงต่อเมืองถลาง ซึ่งต่อมาคำนี้ได้เปลี่ยนเป็น “ภูเก็ต” โดยไม่ทราบสาเหตุ ดังมีปรากฏอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกัน ในฐานะ มณฑลภูเก็ต ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต ในเวลาต่อมา

    วิวัฒนาการของภูเก็ต มีอยู่หลายช่วงด้วยกัน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เห็นได้จากมีการขุดพบหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ คือ เครื่องมือหิน และขวานหิน ที่บ้านกมลา อ.กะทู้  โดยจากการตรวจสอบ ทำให้ทราบว่าหลักฐานดังกล่าว มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า เกาะภูเก็ตมีผู้คนอาศัยอยู่ ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์

    ในสมัยอาณาจักรกรีกโบราณ ก็ได้มีการกล่าวถึงภูเก็ต ในนามของแหลมจังซีลอน ตามแผนที่ของปโตเลมี (นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก) ซึ่งสันนิษฐานว่า ขณะนั้นภูเก็ตยังเป็นแหลมติดกับแผ่นดินใหญ่ ก่อนที่พื้นดินบริเวณช่องปากพระ (ร่องน้ำระหว่างจังหวัดพังงา และภูเก็ต) จะถูกน้ำกัดเซาะ จนขาดจากกัน แสดงให้เห็นว่าภูเก็ต เป็นที่รู้จักของนักเดินทางในขณะนั้นแล้ว ในนามของแหลมจังซีลอน   
                   
    ภูเก็ตเป็นเมืองประเทศราช ของอาณาจักรต่างๆ เรื่อยมาตั้งแต่ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษ 800 ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศิริธรรมราช อาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเป็นจังหวัดหนึ่ง ในประเทศไทยในปัจจุบัน โดยผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามากมาย ตั้งแต่เป็นเมืองท่าที่สำคัญ ในการเดินทางระหว่างสุวรรณภูมิ และทวีปอินเดีย ศูนย์กลางสำคัญ ในการค้าขาย-ทำเหมืองแร่ดีบุก และปัจจุบันเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
                   
    สำหรับประวัติศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้ และมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับภูเก็ตนั้นพอจะสรุปได้ดังนี้
    สมัยกรุงศรีอยุธยา
    ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งห้างค้าแร่ดีบุก ในเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ. 2126 ต่อมาในปีพ.ศ.2169 พระเจ้าทรงธรรมทรงทำสัญญา ให้ดัตช์เข้ามาผูกขาดการรับซื้อแร่ดีบุก ที่ถลางได้ เนื่องจากชาวดัตช์เริ่มเข้ามามีอิทธิพล บนเกาะชวามากขึ้น แต่ชาวถลางก็ลุกขึ้นสู้การกดขี่ของชาวดัตช์ โดยขับไล่ไปจากเกาะในปี พ.ศ. 2210 และต่อมาในสมัยพระนารายณ์มหาราช ทรงมีดำริที่จะให้สัมปทาน แก่ชาวฝรั่งเศส มาสร้างห้าง และผูกขาดการค้าแร่ดีบุกที่ถลาง (ยกเลิกไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา)
    สมัยรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน
    ในสมัยรัชกาลที่ 1(พ.ศ.2328) เกิดศึกถลางขึ้น ซึ่งคุณหญิงจัน และคุณหญิงมุกร่วมกับชาวถลาง ต้านศึกพม่าได้สำเร็จ จนได้รับราชทินนามตำแหน่ง เป็นท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร

    ต่อมาในปี พ.ศ.2352 เกิดศึกถลางครั้งที่สองขึ้น ถลางพ่ายแพ้แก่ทัพพม่า อย่างยับเยิน เมืองถลาง กลายเป็นเมืองร้าง

    15 ปีต่อมา ( พ.ศ.2367) รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นสร้างเมืองใหม่ ที่บ้านท่าเรือ ประจวบกับช่วงนั้น มีการพบสายแร่ ที่บ้านเก็ตโฮ่ (อ.กะทู้) และที่บ้านทุ่งคา (อ.เมืองภูเก็ต) ความเจริญ และชุมชนเมืองจึงย้ายไปตามแหล่ง ที่พบสายแร่แต่เมืองเหล่านั้น (บ้านกะทู้ , บ้านทุ่งคา) แต่ก็อยู่ในฐานะเมืองบริวารของถลาง

    ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3-4 กิจการเหมืองแร่ มีความเจริญก้าวหน้ามาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการส่งส่วย “ดีบุก” มาเป็นการผูกขาดเก็บภาษีอากรแบบ “เหมาเมือง” ตลอดจนมีการทำ สนธิสัญญา กับต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจการค้าดีบุก ขยายตัวอย่างกว้างขวาง คนจีนพากันหลั่งไหล เข้ามาทำเหมืองจนกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในภูเก็ตจนถึงปัจจุบัน

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2435) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล มีการแต่งตั้งให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และในช่วงนี้เองที่ภูเก็ต เริ่มมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้วางรากฐาน ด้านต่างๆ ทั้งระบบสาธารณูปโภค เช่น การสร้างถนน, การพัฒนา ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ และวางรากฐานการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจในภูเก็ต คือ ตรา พ.ร.บ.เหมืองแร่, ริเริ่มการปลูกยางพารา ในภาคใต้ของประเทศไทยรวมทั้งภูเก็ต

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมากิจการเหมืองแร่เริ่มซบเซาลง กลุ่มนักลงทุนเริ่มมีแนวคิด ในการนำธุรกิจการท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่ การทำเหมืองแร่ และในวันที่ 23 มิถุนายน 2529 ได้เกิดเหตุการณ์ เผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม นับเป็นการปิดฉากธุรกิจเหมืองแร่ ในภูเก็ตอย่างแท้จริง การท่องเที่ยวกลายเป็นทางเลือกใหม่ของคนภูเก็ต
    เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์
    หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง - กลุ่มอั้งยี่
    จากการที่เมืองภูเก็ตมีชาวจีนมาอยู่อาศัยมาก ทำให้มีสมาคมลับหรือ “อั้งยี่” เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็น สองพวกใหญ่ คือ กลุ่มปุนเถ้าก๋ง มีอิทธิพลอยู่ในบ้านกะทู้ ซึ่งเป็นแหล่งทำเหมือง ที่มีชาวจีนอยู่มาก และอีกพวกหนึ่งคือ กลุ่มเกี้ยนเต็ก มีเขตอิทธิพลอยู่ในตัวตลาดเมืองภูเก็ต ซึ่งอั้งยี่ทั้งสองกลุ่ม เป็นศัตรูคู่อริที่มักก่อเหตุวุ่นวายอยู่เนืองๆ โดยก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง ครั้งใหญ่สามครั้งด้วยกัน คือ

    เหตุการณ์จลาจลครั้งแรก เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2410 พวกอั้งยี่ทั้งสองกลุ่ม ได้ยกพวกฆ่าฟันกัน เพื่อแย่งชิงสายน้ำล้างแร่ จนกลายเป็นจลาจล ข้าหลวงส่วนกลาง ต้องเข้าระงับเหตุและปราบปราม เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รัฐบาล ต้องเลี้ยงอั้งยี่ คือเลือกคนจีนที่มีพรรคพวกนับถือมากตั้งเป็น “หัวหน้าต้นแซ่” ควบคุมดูแลคนของตน และหากคนของตน คับข้องใจต้องการร้องทุกข์ หัวหน้าต้นแซ่ จะเป็นผู้เสนอคำร้องนั้น ให้แก่ทางการต่อไป

    ต่อมาในปี พ.ศ.2419 ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นอีกครั้งการ โดยครั้งนี้เป็นการจลาจลครั้งใหญ่ เกิดจากอั้งยี่ปุนเถ้าก๋ง ไม่พอใจที่นายเหมือง ไม่จ่ายค่าแรง เนื่องจากภาวะราคาดีบุกตกต่ำ ประกอบกับมีความแค้นเคืองเจ้าเมืองเป็นทุนเดิม จึงได้มีการรวบรวมสมัครพรรคพวกกว่า 2,000 คน ก่อการกบฏ เข้าล้อมศาลากลาง และมีการปล้น-ฆ่าราษฎรไทย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ เกินกำลัง เจ้าหน้าที่บ้านเมืองในท้องถิ่น จะควบคุมได้ ต้องขอกำลังจากส่วนกลาง มาสนับสนุน ระหว่างที่รอ กองกำลังส่วนกลาง หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง ได้เป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้าน ในการต่อสู้กับ พวกอั้งยี่ โดยท่านได้มอบผ้าประเจียดสีขาวให้ชาวบ้านทุกคนโพกหัว เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจ ในการต่อสู้ จนพวกอั้งยี่เรียกพวกชาวบ้านว่า “พวกหัวขาว”  จนในที่สุดชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ ก็สามารถปราบอั้งยี่ ได้สำเร็จ รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าพระราชทาน สมณศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ซึ่งท่านเป็นที่เคารพเลื่อมใส ของชาวภูเก็ตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยหลวงพ่อแช่มไม่เพียงเป็นที่เคารพนับถือ ของคนภูเก็ตเท่านั้น ชาวมาเลเซีย และปีนัง ก็ให้ความเคารพศรัทธาท่านด้วย เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใด ก็พากันมาบนบาน ให้หลวงพ่อช่วยเหลือเสมอ

    เหตุวิวาทรุนแรงครั้งสุดท้ายของพวกอั้งยี่ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2422 โดยพวกอั้งยี่เกี้ยนเต็ก หลอกพวกอั้งยี่ปุนเถ้าก๋งมากินเลี้ยง แล้วมอมเหล้าและฆ่าจุดไฟเผาทั้งเป็น นับร้อยคนในวัน 17 ค่ำเดือน 6 ตามปฏิทินจีน ซึ่งต่อมาชาวกะทู้รุ่นหลัง ได้ฝันเห็นวิญญาณเหล่านี้ พากันมาร้องขอที่อยู่อาศัย จึงได้ร่วมใจกันจัดหาที่ดินในบริเวณหมู่ 4 ตำบลกะทู้ สร้างศาลเจ้าขึ้น เพื่อเป็นที่สถิต ของดวงวิญญาณเหล่านั้น โดยทำซินจู้หรือแผ่นป้ายชื่อผู้ตายในคราวนั้น ตั้งไว้ในศาล แทนรูปเทพเจ้าต่างๆ พร้อมกับขนานนามศาลแห่งนี้ว่า “ศาลเจ้าต่องย่องสู” อันมีความหมายถึง ศาลเจ้าของผู้กล้าที่มีความซื่อตรง และซื่อสัตย์ และทุกปีในวัน17 ค่ำเดือน 6 ตามปฏิทินจีน อันตรงกับวันแห่งการสูญเสีย ชาวบ้านกะทู้ และชาวจีนในภูเก็ต จะพากันมาเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณที่ศาลแห่งนี้

    ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร
    ประวัติศาสตร์ ของภูเก็ตมีมายาวนาน แต่ที่สำคัญ และน่าจดจำที่สุด คือ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองถลาง ไว้จากการรุกรานของพม่าในสงครามเก้าทัพ

    ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรเกิดในปลายสมัยอยุธยา ท่านทั้งสองเป็นธิดา ของจอมร้างบ้านตะเคียน (ขุนนางผู้ปกครองเมืองถลาง) จึงได้รับการเลี้ยงดู มาเพื่อรับภาระ อันหนักยิ่งของตระกูล ทั้งการควบคุมไพร่พลขุดหาดีบุก การแสวงหาเครื่อง อุปโภค บริโภค สำหรับไพร่พล จำนวนมาก การหาตลาดจำหน่ายดีบุก การแสวงหาอาวุธ เพื่อป้องกันภัยจากพม่า และโจรสลัด และการรักษาสถานภาพ ของตระกูล จากการฉกฉวยแย่งชิงของศูนย์อำนาจภายนอก
    ในสมัยที่เกิดเหตุการณ์ สงครามเก้าทัพนั้น ตรงกับ พ.ศ.2328 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 พม่าได้ยกทัพมาตีไทย โดยมีทัพหนึ่งยกมาทางใต้ เมื่อตีเมืองตะกั่วป่าตะกั่วทุ่งได้แล้ว ก็มุ่งตีเมืองถลางทันที ขณะนั้นพระยาพิมล เจ้าเมืองถลางสามีของคุณหญิงจัน เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ไม่นานนัก จึงไม่มีใครบัญชาการรบ คุณหญิงจัน และนางมุกน้องสาว ร่วมกับเจ้าเมืองภูเก็จ คือ พระยาทุกขราช (เทียน) ลูกชายของคุณหญิงจัน จึงเตรียมป้องกันเมืองถลาง และใช้กลอุบาย ต่อสู้กับพม่า จนพม่าต้องถอยทัพกลับไป (ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 ) วีรกรรมครั้งนั้น ทำให้รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้คุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี นางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ส่วนตำแหน่ง เจ้าเมืองถลาง ที่ว่างอยู่ทางกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งคนนอก คือ เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจนวงศ์) มาเป็นผู้สำเร็จราชการ แปดหัวเมืองภาคใต้ และเป็นใหญ่ในถลาง  แต่ในภายหลัง คนในกลุ่มเครือญาติถลาง คือ พระยาทุกขราช(เทียน) ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาถลางใน พ.ศ. 2331


    ประวัติเมืองกาญจนบุรี


      ประวัติเมืองกาญจนบุรี  
    เมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทุกยุคสมัย สามารถแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามหลักฐานที่พบ ได้ดังนี้

    สมัยก่อนประวัติศาสตร์

    เริ่มตั้งแต่สมัยเริ่มกำเนิดมีมนุษย์ขึ้นในโลก จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สิงสาราสัตว์มากมาย เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งอาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมายได้แก่ เครื่อมือหินกะเทาะ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อยแควใหญ่ ตลอดไปจนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
    สมัยทวาราวดี

    เมื่ออินเดียได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่พุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 พบหลักฐานศิลปะอินเดียสมัยคุปตะในสมัยทวาราวดี ตามลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่กลอง ที่บ้านวังปะโท่ บ้านท่าหวี บ้านวังตะเคียน และพงตึก โบราณวัตถุสถานที่พล เช่น ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา และพบตะเกียงโรมันสำริดที่มีอายุราว พศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย
    สมัยอิทธิพลขอม

    จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป

    วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

    ประเทศอาเซียน

    มาเรียนรู้ภาษาอาเซียน  วันนี้แนะนำเรื่องคำทักทายว่า สวัสดี   ในประเทศอาเซียนค่ะ
    คำอ่านภาษาไทย       คำอ่านภาษาอังกฤษ                ประเทศ
        ซินจ่าว                  (Xin Chao)                        เวียดนาม
        ซำบายดี                (Som Bay Dee)                 ลาว
        สวัสดี                    (Sa Wed Dee)                  ไทย
        มิงกลาบา               (Ming Ka La Ba)               พม่า
        ซัวซไดย                (So Sa Dai)                      กัมพูชา
        มาบูไฮ                   (Ma Boo Hi)                      ฟิลิปปินน์
        ซาลามัด บากี         (Se La Mat Pagi)               บรูไน
        ซาลามัต ดาตัง       (Sa La Mat Da Tang)        มาเลเซีย
        แฮนโล่                  (Hello)                               สิงค์โปร์
        ซาลามัด เซียง       (Se La Mat Siang)             อินโดนีเซีย
    ต่อท้าย #2 19 ต.ค. 2553, 14:34:56
    กำเนิดอาเซียน
               อาเซียน  หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ       ซึ่งได้ลงนาม ณ วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
              โดยมีวัตถุประสงค์
    1.เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์  
    2.เพื่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก

                เมื่อแรกการก่อตั้งในปี 2510  อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ
    ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์  ในเวลาต่อมา
    บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่   6  ในปี  2527
    เวียดนาม             เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่   7  ในปี  2538
    ลาวและพม่า         เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน    เมื่อปี  2540
    และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุด                  เมื่อปี  2542
    ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมาสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

                สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียดและ            การเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็น  มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ                              ความก้าวหน้าของอาเซียน   มีปัจจัยสำคัญจากความไว้ใจกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่ สร้างสรรค์และเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างกัน

                การที่ไทยกำลังจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนตามวาระตั้งแต่เดือนกรกฎาคม  และจะเป็นเจ้าภาพ       การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในช่วงปลายปีนี้ด้วยนั้น เป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้ต้อนรับอาเซียนกลับสู่บ้านเกิด เพราะอาเซียนถือกำเนิดที่กรุงเทพฯ เมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้ว และเป็นช่วงจังหวะดีที่เลขาธิการอาเซียนปัจจุบันี้เป็นคนไทย คือ ท่านดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ     อาเซียนมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2538  และในปลายปี ประเทศไทยก็จะได้แสดงศักยภาพของชาติให้ปรากฎ    อีกครั้งหนึ่งในการรับบทบาทนำการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งหน้านี้ต่อไป
    ต่อท้าย #3 19 ต.ค. 2553, 14:36:37
    และในอีกไม่นานมานี้อาเซียนกำลังมีพัฒนาการสำคัญ คือการมุ่งสู่การรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกัน ทั้งในแง่การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งประเด็นเหล่านี้รวมทั้งความคืบหน้าในการดำเนินการด้านต่างๆ ก็จะเป็นเรื่องหนึ่งที่มาหารือกันในการประชุมที่ประเทศไทยในเดือนธันวาคมนี้

               ปลายปี 53 ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทยร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วยน้ำใจไมตรีแบบไทยๆ และร่วมกันต้อนรับมิตรประเทศอาเซียนและผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายอื่นๆ จากทั่วโลก ให้สมศักดิ์ศรีที่ไทยเป็นประเทศประธานอาเซียน
    ต่อท้าย #4 19 ต.ค. 2553, 14:39:13
    การที่จะให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี 2553 แต่ต่อมาได้ตกลงรุ่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558 โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย  3 เสาหลัก  ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
                          1) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง                  
                         
                          2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
                       
                          3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
    ต่อท้าย #5 19 ต.ค. 2553, 14:42:14
    การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอันถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคาม        ความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการมีความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคม        อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค

                ปัจจุบัน อาเซียนกำลังจัดอยู่ในระหว่างการยกร่างพิมพ์เขียวหรือแผนงานการจัดตั้งประชาคม         การเมืองความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมการเมือง-ความมั่นคงที่เน้นความสำคัญของความปลอดภัยของประชาชนภายในปี 2558 คาดว่า แผนงานนี้จะเสร็จสิ้นและพร้อมให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันรับรองได้ ในระหว่าง  การประชุม   สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม ในเดือนธันวาคม 2551 ที่กรุงเทพมหานคร
    ต่อท้าย #6 19 ต.ค. 2553, 14:44:17
    กฎบัตรอาเซียน
                 
                   ตลอดช่วงเวลา 41 ปี อาเซียนได้พัฒนาตนเองจนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จในระดับสำคัญในหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของประเทศในภูมิภาค การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เรื่อยไปจนถึงการร่วมกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวกันของอาเซียน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้ง ‘ประชาคมอาเซียน’ ภายใน      ปี 2558 ได้แก่การที่อาเซียนขาดกลไกที่บังคับในกรณีที่มีประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ    ของอาเซียน  

                   เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้างต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันลงนามใน ‘กฎบัตรอาเซียน’ ซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดของอาเซียน โดยการมีกฎบัตรอาเซียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตาม เป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคม’ ภายในปี 2558  สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และ  ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและสร้างประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการบังคับใช้ของกฎบัตรฯ จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรทีมีกติกาของการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

                   ในปัจจุบัน อาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างการที่แต่ละประเทศดำเนินกระบวนการทางกฎหมายภายในเพื่อให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน หรือที่เรียกว่ากระบวนการให้สัตยาบันกฎบัตรฯ โดยในชั้นนี้มีสมาชิกที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไนฯ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า คาดหมายว่าสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะสามารถให้สัตยาบันกฎบัตรฯ ได้ก่อนการประชุมผู้นำในปลายปีนี้  ทั้งนี้    กฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ 30 วันหลังจากที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันแล้ว
    ต่อท้าย #7 19 ต.ค. 2553, 14:45:35
    ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม สร้างอำนาจการต่อรองและศักยภาพในการแข่งขันของ  อาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก  เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศสมาชิก     อาเซียน ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากหลักการของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด          การแบ่งงานกันทำ และการพัฒนาความชำนาญในการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียน
    ต่อท้าย #8 19 ต.ค. 2553, 14:47:19